ส่วนใหญ่แล้วในช่วงเวลานี้ของแต่ละปี
มักจะมีการจัดทำแผนกลยุทธ์และงบประมาณประจำปีของฝ่าย HR กันใช่ไหมครับ และเราจะคุ้นเคยกับกระบวนการจัดทำแผนกลยุทธ์ที่มักจะเริ่มจาก
วิสัยทัศน์องค์กร พันธกิจ กลยุทธ์องค์กรหรือยุทธศาสตร์ขององค์กร
เพื่อพิจารณาจัดทำแผนกลยุทธ์ของฝ่ายงานและการจัดทำแผนปฏิบัติงาน (Action
Plan) หรือแผนโครงการ (Project) ต่างๆ จนมาถึงงบประมาณ
เพื่อให้แผนปฏิบัติงานของฝ่าย HR นั้น สามารถสนับสนุน
เชื่อมโยง และสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์และเป้าหมายขององค์กร ซึ่งในปัจจุบันองค์กรส่วนใหญ่มักจะกำหนดให้เราใช้เครื่องมือที่เรียกว่า
Balanced Scorecard มาช่วยในการกำหนดและบริหารจัดการกลยุทธ์
โดยกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานจาก 4 มุมมอง คือ 1. มุมมองด้านการเงิน
2. มุมมองด้านลูกค้า 3. มุมมองด้านกระบวนการทำงานภายใน
และ 4. มุมมองด้านการเรียนรู้และการเติบโต
เพื่อใช้เป็นกรอบให้เราจัดทำกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทั้ง 4 ด้านนี้ เพื่อให้เกิดดุลยภาพในทุก
ๆ ด้าน มากกว่าที่จะใช้มุมมองด้านการเงินเพียงด้านเดียว แต่ปัญหาอย่างหนึ่งที่เรามักจะพบอยู่เสมอ
คือ บางครั้งเราไม่สามารถระบุได้ว่า แผนงานปฏิบัติการหรือโครงการที่เราจัดทำขึ้นนั้น
มันสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทั้ง 4 ด้านหรือไม่ และมันสะท้อนหรือตอบสนองต่อกลยุทธ์ที่กำหนดไว้อย่างไร
มีความเชื่อมโยงกับเป้าประสงค์โดยรวมขององค์กร หรือที่สูงกว่านั้นคือ วิสัยทัศน์
หรือพันธกิจที่ตั้งไว้หรือไม่ เพราะฝ่าย HR เป็นหน่วยงานสนับสนุน
ไม่ใช่หน่วยงานหลักในกระบวนการของธุรกิจเหมือนอย่าง ฝ่ายขาย ฝ่ายการตลาดหรือฝ่ายผลิต
เป็นต้น ที่มักจะได้รับมอบหมายแผนงาน ตัวชี้วัด เป้าหมาย
มาจากผู้บริหารระดับสูงก่อนใครเพื่อน ส่วนหน่วยงานสนับสนุนอย่างเรามักจะต้องกำหนดขึ้นภายหลังเพื่อสนับสนุนฝ่ายงานหลักเหล่านั้น
ปรากฏการณ์เช่นนี้
แสดงให้เห็นว่ายังมีช่องว่างหรือมีอะไรบางอย่างขาดหายไป ระหว่างกลยุทธ์ขององค์กรกับการปฏิบัติตามแผนงานหรือโครงการของฝ่าย
HR
ในปัจจุบัน
เราจึงมีเครื่องมือเชื่อมโยงระหว่างกลยุทธ์ขององค์กรกับแผนการปฏิบัติงานหรือโครงการที่เรียกว่า
“แผนที่กลยุทธ์” ซึ่งเป็นแผนผังที่สรุปเป้าประสงค์ต่างๆ ของกลยุทธ์ และแสดงความเชื่อมโยงระหว่างกันในเชิงที่เป็นเหตุเป็นผลในแต่ละด้านของ
Balanced Scorecard
แผนที่กลยุทธ์
จะเป็นตัวช่วยให้เกิดการผสมผสานแนวคิดและบทบาทของทุกฝ่ายงาน
เพื่อให้เกิดการเสริมพลังซึ่งกันและกัน เป็นเครื่องมือแปลงกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ
ที่ช่วยลดความขัดแย้งทางแนวคิด ความขัดแย้งในทางปฏิบัติ ด้วยการบอกเล่าเรื่องราวของกลยุทธ์
และถ่ายทอดวิสัยทัศน์และกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ ตลอดจนทำให้ทรัพยากรของทั้งองค์กรมีความสอดคล้องและไปในทิศทางเดียวกัน
เพื่อมุ่งเน้นไปที่เป้าประสงค์ของกลยุทธ์ เป็นกรอบสำหรับการวางแผนปฏิบัติการและวัดความคืบหน้าของแผนงานโดยใช้เครื่องชี้วัด
ทำการวัดผลการปฏิบัติการขององค์กรในแง่มุมต่างๆ
แล้วตำแหน่งของแผนที่กลยุทธ์อยู่ตรงไหน
? ของกระบวนการจัดทำแผนกลยุทธ์หน่วยงาน
แผนที่กลยุทธ์จะอยู่ระหว่างกลยุทธ์และแผนงานหรือโครงการ
(ระหว่างกลางของกระบวนการวางแผน) ซึ่งจะทำให้มีความเชื่อมโยงสอดคล้องและตอบโจทย์วัตถุประสงค์ของมุมมองทั้ง
4 ของ Balance Scorecard และทำให้การวางแผนงาน
โครงการจะตอบสนองต่อกลยุทธ์อย่างแท้จริง
แล้วกระบวนการในการพัฒนาและจัดทำแผนกลยุทธ์
HR
ตามหลัก Balance Scorecard มีขั้นตอนอย่างไร ?
2. กำหนดวิสัยทัศน์ และ กลยุทธ์ขององค์กร โดยกำหนดเป็นกลยุทธ์หลัก (Strategic Themes) ที่สำคัญขององค์กร
3. วิเคราะห์และกำหนดว่า Balance Scorecard ขององค์กรในแต่ละมุมมองควรจะมีความสัมพันธ์กันอย่างไร (แนวคิดของ Kaplan and Norton กำหนดไว้ 4 มุมมองตามลำดับความสำคัญ คือ ด้านการเงิน มุมมองด้านลูกค้า มุมมองด้านกระบวนการภายใน และมุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนา)
4. จัดทำแผนที่ทางกลยุทธ์ (Strategy Map) ระดับองค์กรโดยกำหนดวัตถุประสงค์ที่สำคัญภายใต้แต่ละมุมมอง โดยพิจารณาว่าในการที่องค์กรจะสามารถดำเนินงานและบรรลุวิสัยทัศน์ และกลยุทธ์ขององค์กรได้นั้น ต้องบรรลุวัตถุประสงค์ด้านใดบ้าง
5. กลุ่มผู้บริหารต้องมีการประชุมร่วมกันเพื่อยืนยันและเห็นชอบในแผนที่ทางกลยุทธ์ที่สร้างขึ้น
6. ภายใต้วัตถุประสงค์แต่ละประการ ต้องกำหนดรายละเอียดของวัตถุประสงค์ในด้านต่าง ๆ ทั้งในด้านของตัวชี้วัด ฐานข้อมูลในปัจจุบัน เป้าหมายที่ต้องบรรลุ รวมทั้งแผนงาน กิจกรรม หรือโครงการ (Initiatives) ที่ต้องทำ ซึ่งภายในขั้นตอนนี้สามารถแยกเป็นประเด็นต่าง ๆ ได้ ดังนี้
6.1 การจัดทำตัวชี้วัด
6.2 การกำหนดเป้าหมาย โดยอาศัยข้อมูลในปัจจุบัน
6.3 จัดทำแผนงาน โครงการ และกิจกรรมที่จะต้องทำเพื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดขึ้น
7. เมื่อจัดทำแผนงานหรือโครงการเสร็จแล้ว สามารถจะแปลงตัวชี้วัดและเป้าหมายระดับองค์กรให้เป็นแผนงานของผู้บริหารรองลงไปเพื่อให้ผู้บริหารระดับรอง ๆ ลงไปได้จัดทำแผนปฏิบัติการตามแผนงานหรือโครงการหลักและกำหนดตัวชี้วัดให้กับผู้บริหารในระดับรองในอันดับถัดลงไป
กระบวนการจัดทำแผนกลยุทธ์ตามหลัก
Balance Scorecard ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
1. การวิเคราะห์ทางกลยุทธ์ ได้แก่
การทำ SWOT Analysis เพื่อให้ได้ทิศทางและกลยุทธ์ขององค์กรที่ชัดเจน2. กำหนดวิสัยทัศน์ และ กลยุทธ์ขององค์กร โดยกำหนดเป็นกลยุทธ์หลัก (Strategic Themes) ที่สำคัญขององค์กร
3. วิเคราะห์และกำหนดว่า Balance Scorecard ขององค์กรในแต่ละมุมมองควรจะมีความสัมพันธ์กันอย่างไร (แนวคิดของ Kaplan and Norton กำหนดไว้ 4 มุมมองตามลำดับความสำคัญ คือ ด้านการเงิน มุมมองด้านลูกค้า มุมมองด้านกระบวนการภายใน และมุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนา)
4. จัดทำแผนที่ทางกลยุทธ์ (Strategy Map) ระดับองค์กรโดยกำหนดวัตถุประสงค์ที่สำคัญภายใต้แต่ละมุมมอง โดยพิจารณาว่าในการที่องค์กรจะสามารถดำเนินงานและบรรลุวิสัยทัศน์ และกลยุทธ์ขององค์กรได้นั้น ต้องบรรลุวัตถุประสงค์ด้านใดบ้าง
5. กลุ่มผู้บริหารต้องมีการประชุมร่วมกันเพื่อยืนยันและเห็นชอบในแผนที่ทางกลยุทธ์ที่สร้างขึ้น
6. ภายใต้วัตถุประสงค์แต่ละประการ ต้องกำหนดรายละเอียดของวัตถุประสงค์ในด้านต่าง ๆ ทั้งในด้านของตัวชี้วัด ฐานข้อมูลในปัจจุบัน เป้าหมายที่ต้องบรรลุ รวมทั้งแผนงาน กิจกรรม หรือโครงการ (Initiatives) ที่ต้องทำ ซึ่งภายในขั้นตอนนี้สามารถแยกเป็นประเด็นต่าง ๆ ได้ ดังนี้
6.1 การจัดทำตัวชี้วัด
6.2 การกำหนดเป้าหมาย โดยอาศัยข้อมูลในปัจจุบัน
6.3 จัดทำแผนงาน โครงการ และกิจกรรมที่จะต้องทำเพื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดขึ้น
7. เมื่อจัดทำแผนงานหรือโครงการเสร็จแล้ว สามารถจะแปลงตัวชี้วัดและเป้าหมายระดับองค์กรให้เป็นแผนงานของผู้บริหารรองลงไปเพื่อให้ผู้บริหารระดับรอง ๆ ลงไปได้จัดทำแผนปฏิบัติการตามแผนงานหรือโครงการหลักและกำหนดตัวชี้วัดให้กับผู้บริหารในระดับรองในอันดับถัดลงไป
ดังนั้นในระดับของฝ่ายงาน HR
เมื่อได้รับการแปลงตัวชี้วัดและเป้าหมายระดับองค์กรมาเป็นแผนงานฝ่าย
เพื่อตอบโจทย์ที่ว่า แผนงานหรือโครงการ และกิจกรรม ที่เราจัดทำขึ้นมานั้น
จะสามารช่วยให้บรรลุเป้าหมายระดับองค์กรได้อย่างไรนั้น
เราสามารถแสดงความเชื่อมโยงหรือการสนับสนุนเป้าหมายขององค์กรด้วยการเขียนแผนที่กลยุทธ์
HR ได้ ดังตัวอย่างที่แสดงได้ดังนี้
จากรูปข้างต้น เราจะเห็นว่า
แผนที่กลยุทธ์เปรียบเสมือนแผนที่ที่บอกเส้นทางไปสู่เป้าหมาย
ช่วยให้เราสามารถกำหนดกลยุทธ์ แผนงาน โครงการ และกิจกรรม ที่สนบสนุนห้บรรลุเป้าหมายขององค์กรได้
แต่การจัดทำให้มีประสิทธิภาพนั้น
จะต้องมีกระบวนการที่ถูกต้องเหมาะสม
ตั้งแต่การวิเคราะห์กลยุทธ์ระดับองค์กรเป็นต้นมาด้วยนะครับ หากท่านใดสนใจในรายละเอียดของการจัดทำแผนกลยุทธ์
HR
ทั้งกระบวนการละก็
ท่านสามารถตรวจสอบตารางการอบรมของสถาบันฝึกอบรมต่าง ๆ ได้นะครับ
ผมจะมีกำหนดการบรรยายหัวข้อนี้ในช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้ครับ ...ขอบคุณ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น