วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2558

พ.ร.บ. ประกันสังคมฉบับใหม่ 2558


ก่อนหน้านี้ติดตามข่าวเรื่องของ พ.ร.บ. ประกันสังคม ฉบับใหม่ ทราบว่า   พ.ร.บ ประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2558 ได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาแล้ว และจะมีผลบังคับใช้  20 ต.ค.58  เดือนหน้าที่กำลังจะมาถึงนี้ จึงเข้าไปอ่านดูว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงและมีประโยชน์เพิ่มเติมอะไรบ้าง   ก็ต้องขอบอกเลยว่ามีการเพิ่มเติมในส่วนของสิทธิประโยชน์ทดแทนที่มีอยู่เดิม จะทำให้ผู้ประกันตนได้รับประโยชน์เพิ่มมากขึ้นอย่างน่าสนใจที่เดียว ผมจึงขอเอามาลงเพื่อเป็นการช่วยประชาสัมพันธ์อีกช่องทางหนึ่ง เราไปดูกันเลยครับว่าสิทธิประโยชน์ทดแทนที่เพิ่มเติมขึ้นมานั้นมีอะไรบ้าง


กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
เพิ่ม
ค่าส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคและค่าใช้จ่ายเป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้ประกันตน ในกรณีได้รับความเสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์
ปัจจุบัน
มีสิทธิได้รับเฉพาะค่าตรวจวินิจฉัยโรค ค่าบำบัดทางการแพทย์ ค่ากินอยู่ และรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล ค่ายา และค่าเวชภัณฑ์ ค่ารถพยาบาล หรือค่าพาหนะรับส่งผู้ป่วย

กรณีคลอดบุตร
เพิ่ม
มีสิทธิได้รับไม่จำกัดจำนวนครั้ง

ปัจจุบัน
มีสิทธิได้รับไม่เกิน 2 ครั้ง เหมาจ่าย ครั้งละ 13,000 บาท + เงินสงเคราะห์การหยุดงาน 90 วัน


กรณีสงเคราะห์บุตร
เพิ่ม
มีสิทธิได้รับคราวละไม่เกิน 3 คน

ปัจจุบัน
ได้รับสำหรับบุตรอายุ 0 - 6 ปี คราวละ ไม่เกิน 2 คน เหมาจ่ายรายเดือน เดือนละ 400 บาท ต่อคน


กรณีว่างงาน
เพิ่ม
ให้ความคุ้มครองสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานแก่ผู้ประกันตน กรณีนายจ้างหยุดกิจการชั่วคราวเนื่องจากเหตุสุดวิสัยโดยยังไม่มีการเลิกจ้าง เช่น กรณีสถานประกอบการถูกน้ำท่วม
ปัจจุบัน
ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับเมื่อถูกเลิกจ้างหรือลาออก


ผู้เจ็บป่วยเรื้อรัง หรือผู้ทุพพลภาพ
เพิ่ม
สิทธิประโยชน์กรณีตายแก่ผู้เจ็บป่วยเรื้อรัง/ ผู้ทุพพลภาพ แม้ส่งเงินสมทบไม่ครบตามสิทธิ

ปัจจุบัน
ไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน กรณีตาย


ผู้จงใจให้ตนเองได้รับบาดเจ็บ ทุพพลภาพ และตาย
เพิ่ม
สิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกันตนที่จงใจทำให้ตนเองบาดเจ็บ ทุพพลภาพ และตาย หรือยินยอมให้ผู้อื่นก่อให้เกิดขึ้น
ปัจจุบัน
ไม่ได้รับความคุ้มครอง


กรณีทุพพลภาพ 
เพิ่ม
1. ผู้ประกันตนซึ่งสูญเสียสมรรถภาพ ไม่ถึงร้อยละ 50 ของร่างกายมีสิทธิได้รับประโยชน์
    ทดแทนกรณีทุพพลภาพ
2. ผู้ทุพพลภาพอยู่ก่อนวันที่ 31 มีนาคม 2538 ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ตลอดชีวิต

ปัจจุบัน
1. ผู้ประกันตนต้องสูญเสียสมรรถภาพของร่างกายร้อยละ 50 ถึงจะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณี
    ทุพพลภาพ
2. ผู้ทุพพลภาพอยู่ก่อนวันที่ 31 มีนาคม 2538 ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 15 ปี


กรณีตาย เงินสงเคราะห์กรณีที่ผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย
แก้ไข
1. ถ้าก่อนถึงแก่ความตาย ผู้ประกันตนได้ส่งเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง
    120 เดือน ให้จ่ายเงินสงเคราะห์เป็นจำนวนเท่ากับร้อยละ 50 ของค่าจ้าง รายเดือน ที่
    คำนวณได้ตามมาตรา 57 คูณด้วย 4
2. ถ้าก่อนถึงแก่ความตาย ผู้ประกันตนได้ส่งเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไปให้
    จ่ายเงินสงเคราะห์เป็นจำนวนเท่ากับร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายเดือนที่คำนวณได้ตาม
    มาตรา 57 คูณด้วย 12



ปรับปรุงหลักเกณฑ์การได้รับสิทธิประโยชน์  
เพิ่ม
1. ผู้ประกันตนสามารถทำหนังสือระบุบุคคลผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพไว้ล่วงหน้าได้
    โดยมีสิทธิได้รับร่วมกับทายาท หากไม่มีทายาท หรือไม่มีบุคคลที่ทำหนังสือระบุจะให้สิทธิ
    แก่ พี่ น้อง ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา
2. ขยายระยะเวลาการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนจาก 1 ปี เป็น 2 ปี
3. ขยายความคุ้มครองลูกจ้างส่วนราชการ ขยายความคุ้มครองไปถึงลูกจ้างชั่วคราวทุก
    ประเภทของส่วนราชการ
4. ขยายความคุ้มครองให้กับลูกจ้างของนายจ้างที่มีสำนักงานในประเทศ และไปประจำ
    ทำงานในต่างประเทศ
ปัจจุบัน
1. ผู้ประกันตนที่ไม่มีทายาท (บิดา มารดา บุตร และคู่สมรส) ไม่สามารถทำหนังสือระบุบุคคลผู้มีสิทธิ
    รับเงินบำเหน็จชราภาพไว้ล่วงหน้าได้ โดยเงินบำเหน็จชราภาพจะตกเป็นของกองทุน
2. ระยะเวลาการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนภายใน 1 ปี
3. คุ้มครองเฉพาะลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน
4. ไม่คุ้มครอง


   
    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
  
สำนักงานประกันสังคม

   





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น