ผมกำลังคิดว่าจะเขียนบทความเรื่องอะไรดี
ลงใน Blog เป็นบทความถัดไป
ก็เลยนึกถึงเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้รับเชิญเป็นวิทยากร (Guest Speaker) ให้ไปบรรยายในงาน Public Conference แห่งหนึ่ง ในหัวข้อ “Change and Engagement”
ก็เลยขอแชร์เรื่องนี้ให้กับผู้อ่านก็แล้วกันนะครับ
คำว่า “Engagement” หรือ “ความผูกพัน” มันมีความหมายลึกซึ้งมากนะครับ ไม่เพียงแค่การแสดงออก หรือมีพฤติกรรม
แต่มันยังลึกไปถึงจิตใจอีกด้วย ไม่ใช่เพียงอยากทำงานอยู่กับองค์กรเท่านั้น
แต่มันยังหมายถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มในด้านผลงานให้กับองค์กรอีกด้วย
ไม่ใช่เพียงอยากอยู่กับองค์กร อยู่แล้วรู้สึกดี
เลยไม่อยากไปที่อื่น แต่ถ้าไม่ได้สร้างผลงาน แบบนี้ก็ไม่ได้เรียกว่า Engagement
นะครับ
ซึ่งผู้บริหารหลายคนมักเข้าใจผิด พอมองไปที่อัตราการลาออกของพนักงาน ต่ำ(Turnover
Rate) ก็บอกว่าพนักงานของตนมีความผูกพันแล้ว
ซึ่งเป็นการเข้าใจผิดนะครับ
ผมมองว่า Engagement
มีการพัฒนาหรือวิวัฒนาการมาจาก
Satisfaction ขึ้นมาเป็นลำดับเช่นเดียวกับผมที่ทำงานสายบริหารทรัพยากรบุคคลมากว่า
25 ปี
ตั้งแต่ชื่อหน่วยงาน HR Administration ซึ่งงานแต่ละวันไม่พ้นเรื่อง รับคนเข้า
เอาคนออก คีย์บัตรตอก ออกใบเตือน จนกระทั่งปัจจุบัน หน่วยงาน HR เป็น HR Strategic หรือ Business Partner
ซึ่งในสมัยแรก
ๆ ที่ผมทำงาน ก็ได้ยินเรื่องการดูแลคนในองค์กรให้เกิดความพึงพอใจ หรือ Satisfaction เป็นเป้าหมาย แต่ปัจจุบันบอกว่า
แค่นั้นมันไม่พอแล้ว มันจะต้องทำให้พนักงานเกิดความผูกพัน หรือ Engagement ต่างหาก ผมจึงมองว่าเป็นเรื่องของการพัฒนาขึ้นเป็น
Step เริ่มจากระดับ
Satisfaction
คือการทำให้พนักงานหรือแม้แต่คนหางานภายนอกองค์กร
อยากหรือชอบทำงานกับองค์กรให้ได้ก่อน และหลายตำราก็บอกว่า
การสร้างความผู้พันต้องเริ่มสร้างตั้งแต่การสรรหาคนเข้ามาในองค์กรเสียก่อน
หลังจากที่พนักงานรู้สึกอยากหรือชอบทำงาน กับองค์กรแล้ว ถัดมาจะต้องทำให้พนักงานอยากอยู่ทำงานกับองค์กรไม่ไปที่อื่นหรือให้เกิด
Loyalty กับองค์กร แล้วทำให้พนักงานมี Commitment
เป็นลำดับถัดมา
คือ มีความต้องการพัฒนาผลงานขององค์กรให้ดีขึ้นด้วย ไม่เพียงผลงานอของตนเอง และสุดท้ายจึงทำให้ให้เกิด ความผูกพัน หรือ Engagement
คือทำให้พนักงานปรารถนาที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มในด้านผลงานกับกับองค์กร
หรือต้องการพัฒนาผลงานขององค์กรให้ดีขึ้นอย่างสม่ำเสมอจนเป็นปกติวิสัยนั้นเอง
และถ้าผมจะเปรียบเทียบให้ใกล้ตัวมากขึ้น ก็อาจเปรียบเสมือน หนุ่มจีบสาว
นั่นแหละครับ หากหนุ่มจะจีบสาวเป็นแฟนสักคน จะต้องมีคนที่รูสึกชอบ
รูสึกถูกสเปคอยู่เพียง 1 คน ณ เวลานั้น หรือ ”
ปิ้ง” ขึ้นมานั่นแหละ ใช่ไหมครับ
ตอนนั้นก็เปรียบเหมือนอยู่ในระดับ Satisfaction ซึ่งเห็นแต่รูปร่างหน้าตา รูปลักษณ์ภายนอก
ยังไมรู้จักนิสัย ใจคอ พฤติกรรม ทัศนคติ ฯลฯ ว่าเข้ากันได้หรือไม่ ?
หลังจากนั้นจึงเข้าไปจีบเพื่อให้รู้จักมากขึ้น หากดูแล้วเข้ากันได้
หนุ่มก็จะตัดสินใจเลือกจีบสาวคนนั้นอย่างจริงจัง ไม่ไปจีบสาวคนอื่น ตอนนี้ก็หมายถึงหนุ่มอยู่ในระดับ
Loyalty แล้วครับถัดมาหนุ่มก็จะพัฒนาหรือมีวิวัฒนาการ
เอาอกเอาใจ ไปรับ ไปส่ง ชวนกินข้าว ชวนดูหนัง ฯลฯ จนกระทั่งทำให้สาวตกลงที่จะรับหนุ่มเป็นแฟนกัน
ไม่มีบุคคลที่ 3 คบหากันเพียงสองคน
นั่นหมายถึงทั้งสองได้มีการพัฒนามาอยู่ในระดับที่เรียกว่ามี Commitment ต่อกันแล้ว และทั้คู่ก็จะพัฒนาผลงาน จนมีความมุ่งมั่น
มีความมั่นใจ และในที่สุดก็มาสู่ระดับ Engagement
(ภาษาอังกฤษ คำว่าEngage แปลว่า การหมั่นหมาย) คือมีความผูกพันกันเกิดขึ้น
ท่านผู้อ่านคงจะเห็นภาพนะครับว่ามันมีการพัฒนาเป็นลำดับ
และถ้าเป็นอย่างนั้น ในวันที่ผมบรรยายเรื่องนี้อยู่ ผมมีคำถามกับผู้เข้าสัมนาว่า
แม้จะหมั่นหมายกันแล้วก็ตาม ยังมีโอกาสเปลี่ยนใจได้อีกหรือไม่ ? ผู้เข้าสัมนาตอบว่า “ยังได้” เพราะยังไม่ได้แต่งงาน
ผมจึงแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมไปว่า
“ถ้าอย่างนั้น ขอให้ติดตามเรื่อง Engagement
ต่อไปนะครับ
ผมคาดเดาไว้ว่า ต่อจากนี้ไปอีกระยะหนึ่ง คุณจะเห็นมีคนบรรญัติคำใหม่เกิดขึ้น จะมีคนมาบอกเราอีก
(ซึ่งมักจะมาจากต่างประเทศอีกแหละ) ว่า พนักงานมี Engagement มันไม่พอแล้วในเวลานั้น
มันจะต้องสร้างให้พนักงานมีมากขึ้นกว่านั้นอีก และผมก็คาดเดาววันนี้เลยว่าคงจะหนีไม่พ้นกับคำว่า
“Marriage”
หรือคำที่มีความหมายใกล้เคียงกันนี้แหละครับ
ปัจจุบันเรื่องการสร้างความผูกพันของพนักงาน
เป็นที่ยอมรับและพูดถึงอย่างมาก
ทั้งนี้เนื่องจากเป็นแนวคิดที่เชื่อว่าหากพนักงานในองค์กรมีความผูกพันต่อองค์กรสูงแล้วจะส่งผลต่อการดำเนินการภาพรวมขององค์กร
เพราะถ้าพนักงานมีความรู้สึกผูกพันกับองค์กรแล้ว ก็จะพร้อมทุ่มเทแรงกายแรงใจ
เพื่อสร้างผลงานที่ดีเยี่ยมให้กับองค์กร และในขณะเดียวกัน
ก็เกิดตำราขึ้นมาหลายเล่ม
มีอาจารย์ทั้งในและต่างประเทศหลายท่าน ต่างก็ให้หลักการ นำเสนอวิธีการ และนำเสนอทฤษฎีต่าง
ๆ มากมาย ในเรื่องนี้เช่นกัน รวมทั้งเสนอเครื่องมือหรือปัจจัยสำคัญ (Keys Drive) ที่นำมาใช้สร้างความผูกพันของพนักงานในองค์กร
เครื่องมือเหล่านั้น หรือวิธีการและกระบวนการเหล่านั้น
ไม่สามารถนำมาใช้ได้ดีกับทุกองค์กร หรือพนักงานแต่ละคนได้หรอกนะครับ
ก็เนื่องจากแต่ละองค์กร มีบริบท หรือมีความหลากหลายอยู่ภายใน ซึ่งความหลากหลายนี้แหละเป็นต้นเหตุของความต้องการที่แตกต่างกัน จึงสรุปได้ว่า ไม่มีเครื่องมือใดหรือวิธีการใดที่ดีที่สุด
มีแต่เครื่องมือหรือวิธีการที่เหมาะสมที่สุด ในการสร้างความผูกพันของแต่ละองค์กร ดังนั้น การสร้างความผูกพันของพนักงานนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรไปพร้อม
ๆ กัน ตลอดจนการสื่อสารภายในที่มีประสิทธิภาพ
หากดำเนินการโดยขาดความรอบคอบแล้ว สิ่งที่ตามมาคือแรงต่อต้าน และการกระทบต่อขวัญกำลังใจและผลผลิตของพนักงาน
ดังนั้น การกำหนดกลยุทธ์และดำเนินการสร้างความผูกพันอย่างเป็นระบบ
เป็นขั้นเป็นตอน ตามลำดับ ย่อมลดความเสี่ยงดังกล่าวได้
และผมขอแนะนำหลักการพื้นฐานในเบื้องต้นก่อนครับ
นั้นคือ “ความเข้าใจ” ท่านจะต้องทำความเข้าในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้ง
จาก
“ความผูกพัน” ไปสู่ “ความยั่งยืน
จาก
“ความเข้าใจ” ไปสู่ “การปฏิบัติ”
ถ้าอย่างนั้นแล้ว การสร้างความผูกพันของพนักงานขององค์กร
จะใช้เครื่องมืหรือวิธีการใดถึงจะประสบความสำเร็จและนำไปสู่ความยั่งยืนละ? ผมขออนุญาตให้ท่านติดตามบทความถัดไปของเรื่องนี้
ในตอนที่ 2 ก็แล้วกันนะครับ สวัสดี....